ทะเบียนบ้าน

「สำเนาทะเบียนบ้าน」 เป็นเอกสารที่สามารถแสดงที่อยู่อาศัยได้ถูกต้องตามราชการ

หัวข้อที่บันทึกพิเศษสำหรับผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ

ทะเบียนบ้านที่ผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติจะได้รับนั้น นอกจาก ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด เพศ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย ที่เหมือนคนญี่ปุ่นแล้ว จะมีข้อมูล ประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันบำนาญพลเมืองและประกันต่างๆกรอกอยู่ในทะเบียนบ้านด้วย

นอกจากนี้ ข้อมูลที่กรอกอยู่ในทะเบียนบ้านสำหรับผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาตินั้นจะมีการแยกสัญชาติสำหรับผู้ที่อยู่ในทะเบียนบ้าน

(1) ผู้พำนักระยะกลางและระยะยาว
(ผู้ที่มีบัตรประจำตัวผู้พำนัก)

  • แสดงความเป็นผู้พำนักระยะกลางและระยะยาว
  • ข้อมูลหลักฐานในบัตรประจำตัวผู้พำนัก ข้อมูลช่วงเวลาและวันหมดอายุการพำนัก หมายเลขบัตรประจำตัวผู้พำนัก

(2) ผู้พำนักถาวร

  • แสดงความเป็นผู้พำนักถาวร
  • หนังสือหลักฐานผู้พำนักถาวร หมายเลขประจำตัวผู้พำนักถาวร

(3) ผู้ที่ได้รับใบสถานภาพการคุ้มครองชั่วคราวหรือใบสถานภาพการพำนักชั่วคราว

  • แสดงความเป็นผู้ที่ได้รับใบสถานภาพการคุ้มครองชั่วคราวหรือ ใบสถานภาพการพำนักชั่วคราว
  • (หนังสือแสดงความเป็นผู้ที่ได้รับใบสถานภาพการคุ้มครองชั่วคราว)หนังสือแสดงระยะเวลาอยู่อาศัยชั่วคราว

(4) ผู้ที่อยู่เกินกำหนดเนื่องจากทำคลอด หรือผู้ที่อยู่เกินกำหนดเนื่องจากได้ ลบสัญชาติญี่ปุ่นออกไป

  • แสดงความเป็นผู้ที่อยู่เกินกำหนดเนื่องจากทำคลอดหรือผู้ที่อยู่เกินกำหนดเนื่องจากได้ลบสัญชาติญี่ปุ่นออกไป

หัวข้อที่บันทึกในทะเบียนบ้านสำหรับผู้อยู่อาศัยชาวต่างชาติ

  1. ชื่อสกุล (ชื่อสกุล หรือ ชื่อย่อ ในกรณีที่มีกรอกอยู่ในทะเบียนบ้าน)
  2. วันเดือนปีเกิด
  3. เพศ
  4. (กรณีที่เป็นเจ้าบ้าน) แสดงความเป็นเจ้าบ้าน
    (กรณีที่ไม่ใช่เจ้าบ้าน)ชื่อสกุลของผู้ที่เป็นเจ้าบ้านและความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าบ้าน
  5. ที่อยู่(วันเดือนปีที่ย้ายเข้าในกรณีที่ย้ายที่อยู่)
  6. วันเดือนปีที่ย้ายเข้า・ย้ายออก และที่อยู่ที่ย้ายออก
  7. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประกันสุขภาพแห่งชาติ
  8. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประกันการรักษาพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ
  9. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประกันผู้ที่ต้องการบุคคลดูแล
  10. ขัอมูลที่เกี่ยวข้องกับประกันบำนาญพลเมือง
  11. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการรับเงินก้อนช่วยเหลือการคลอดและการดูแลบุตร
  12. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการรับการแจกจ่ายข้าวสวย
  13. รหัสทะเบียนบ้าน
  14. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายต่างๆที่ทางรัฐบาลได้กำหนดไว้
  15. สัญชาติ และ จังหวัด
  16. วันเดือนปีที่เริ่มต้นการเป็นผู้พำนัก
  17. หลักฐานการเป็นผู้พำนักระยะกลาวหรือระยะยาว
  18. ข้อมูลหลักฐานในบัตรประจำตัวผู้พำนัก ข้อมูลช่วงเวลาและวันหมดอายุผู้พำนัก หมายเลขบัตรประจำตัวผู้พำนัก
  19. นามแฝงหรือฉายาที่ได้ถูกกรอกเพิ่มเติมหรือถูกลบออกไป

การรับสำเนาทะเบียนบ้าน

ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนผู้อยู่อาศัยนั้นสามารถรับสำเนาทะเบียนบ้านของตนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านได้ ผู้ที่ต้องการรับสำเนาทะเบียนบ้านสามารถติดต่อสอบถามสำนักงานในเขตที่อาศัยอยู่ได้

* ไม่มีข้อมูลของที่อยู่ก่อนวันที่9กรกฏาคม2012ในทะเบียนบ้าน

* เอกสารลงทะเบียนชาวต่างชาติ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานเขตจะถูกย้ายไปเก็บรักษา ณ ที่ว่าการกระทรวงยุติธรรม นับตั้งแต่วันที่9กรกฏาคม2012เป็นต้นไป

กรณีที่ต้องการเอกสารลงทะเบียนชาวต่างชาติ(เว็ปไซด์กระทรวงยุติธรรม)open link in new window

* ผู้ที่ได้รับการทำร้ายร่างกาย(DV)จากคู่สมรส ปัญหาสตอล์คเกอร์ (มีคนคอยติดตาม) ทารุณเด็กหรือการกระทำที่ใกล้เคียงสามารถกำหนดข้อบันทึกในเอกสารการควบคุมพำนักอาศัยได้เมื่อต้องการเอกสารนั้นๆ ข้อมูลเพิ่มเติมPDF

ページトップへ戻る